เฝ้าระวังน้ำท่วมหาดใหญ่ - Hatyai City Climate . ORG

จาก ACCCRN สู่ SCCCRN

  • photo  , 960x722 pixel , 79,953 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 82,848 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 71,101 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 33,326 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 65,958 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 90,880 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 81,331 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 34,387 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 80,658 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 23,947 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 74,016 bytes.

"จาก ACCCRN สู่ SCCCRN"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

พัฒนาการจากAsian Cities Climate Change Resilience Network มาสู่มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จังหวะก้าวต่อไปจะเป็นอย่างไร

ในฐานะที่มีส่วนร่วมคนหนึ่งผมมีความเห็นดังนี้ครับ

๑.จุดเด่นที่ควรรักษาและพัฒนาต่อก็คือ การคิดเชิงระบบมากกว่าแค่ทำงานเฉพาะกิจ หรือแยกส่วนทำเฉพาะตนกระบวนการทำงานร้อยเรียงภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคเอกชนใช้ทักษะการบริหารจัดการ ภาคประชาสังคมนำกระบวนการ ภาควิชาการนำความรู้มาใช้ ควบคู่กับหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ความรู้ที่แต่ละคนมีเมื่อมารวมกันทำให้เกิดพลังและลดช่องว่างที่ภาครัฐยังทำได้ไม่เต็มที่

๒.สร้าง Platform พื้นฐานทั้งเว็บไซต์ www.hatyaicityclaimate.org App: hatyaicityclimate เฟชบุ๊ค กลุ่ม line ลุ่มน้ำต่างๆ นำเครื่องมือที่ภาครัฐมีอยู่แต่แยกส่วนจากกัน รวมถึงเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น CCTV ที่วัดระดับน้ำ มานำเสนอให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ภาพ และมีการผลิตสื่อเพื่อให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร งานวิจัย และเป็นช่องทางให้เครือข่ายภาคส่วนต่างๆมาทำงานร่วมกัน ผลการทำงานอย่างต่อเนื่องมาหลายปีทำให้ในช่วงเวลาที่ฝนตกหนักหรือหน้าฝน จะมีประชาชนเรือนแสนคนเข้าถึง ซึ่งระบบปกติของหน่วยงานต่างๆที่มี ยังไม่สามารถสร้างความรับรู้และการเข้าถึงได้ง่าย

๓.ช่วงแรกดำเนินการได้อย่างราบรื่นโดยความลงตัวขององค์ประกอบคณะทำงานและแนวคิดที่ตอบโจทย์การบูรณาการและมีงบประมาณจากมูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์มาอำนวยความสะดวก มีการเติมเต็มมุมมองระดับสากลจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และเครือข่าย เมื่อมาเป็นมูลนิธิเครือข่ายเมืองฯ ความร่วมมือดังกล่าวจำเป็นต้องปรับตัวใหม่อีกรอบ
ร่วมมือกันทำอะไรบ้าง? ๓.๑ สนองเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆที่ดำเนินการอยู่แล้ว มาใช้ Platform เดียวกัน ทำงานทุกช่วงฤดูกาล ไม่เน้นเฉพาะหน้าฝนเช่นเดิม

๓.๒ ประสานความร่วมมือในลักษณะที่ทุกฝ่าย win win โดยประโยชน์สุดท้ายสู่ประชาชน การเปิดพื้นที่ทั้งความคิด กระบวนการ เทคนิค เทคโนโลยี ความรู้ ความสัมพันธ์เช่นนี้นำโดยภาคเอกชน ประชาสังคม ภาควิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปถักทอเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐส่วนภูมิภาค ทำงานอย่างเท่าเทียมกัน พัฒนาเชิงระบบในแต่ละด้าน โดยมีมูลนิธิฯทำหน้าที่อำนวยการ ประสานงานจะช่วยเติมเต็มการทำงานปกติได้อย่างลงตัว เกิดรูปแบบ(Model)ตัวอย่างในระดับภูมินิเวศที่ใช้พื้นที่เป็นฐานสามารถขยายผลได้ไม่ยาก

๓.๓ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือ สร้างกระบวนการจัดการความรู้ สร้างความร่วมมือ ระดมทุน ลดทอนช่องว่างการทำงานที่มี พร้อมกับสร้างเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ๔.๐โดยใช้Platform เดียวกัน

๔.ส่วนปีนี้จะมีอะไรใหม่บ้าง วันนี้ทีมเล็กมาหารือออกแบบงานกัน จะปรับหน้าตาเว็บไซต์ พัฒนาช่องทางสื่อสารใหม่ๆ เช่น live สดจากหน่วยงานต่างๆ รายงานข้อมูล สถานการณ์ที่จะใกล้ชิดกันมากขึ้น หรือแนะนำความรู้พื้นฐานให้ประชาชนรับรู้มากขึ้น และผลจากการขยายคลองร.๑ ทำให้ระบบเตือนภัยล่วงหน้าโดยใช้การคำนวณความสัมพันธ์การไหลของน้ำจากต้นน้ำมาสูุ่เมืองหาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปจากความเดิม จำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลใหม่

หลายปีมานี้หาดใหญ่เงียบสงบไม่เกิดภัย จนหลายคนตั้งคำถามว่า หาดใหญ่น้ำจะไม่ท่วมอีกแล้วใช่หรือไม่ หน่วยงานที่รับผิดชอบเริ่มย่อหย่อนการเตรียมความพร้อมลงไปตามลำดับ

ต่อให้ขยายคลองร.๑ ไปอีกเท่าไร ก็คงเป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ ส่วนน้ำจะไม่ท่วมอีกหรือไม่ ผมคิดว่าหลายคนคงมีคำตอบในใจ