รัตภูมิอุตุ
รัตภูมิอุตุ
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
อีกก้าวสำคัญ
วันที่ 28 มีนาคม 2562 ช่วยประสานงานให้ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกนำทีมได้พบกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ หารือความร่วมมือในการนำข้อมูลอุตุนิยมวิทยามาใช้ในกลุ่มอาชีพ ณ รพ.รัตภูมิ
ได้ข้อสรุปดังนี้ครับ
๑.นำเสนอข้อมูลอุตุฯในภาพรวมให้กับเครือข่ายในพื้นที่อำเภอ อาจเป็นข้อมูลอุตุรายวัน ทั้งปริมาณฝน อุณหภูมิ ความชื้น พร้อมกับพัฒนาศักยภาพให้สามารถเข้าใจ เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว พร้อมสร้างช่องทางกลางในการสื่อสาร โต้ตอบ
๒.นำร่องกับกลุุ่มอาชีพทำนาเป็นกลุ่มตัวแทน โดยมี ๓ กลุ่ม(กลุ่มพี่ปราณี กลุ่มคุณอรรณพ กลุ่มคุณวิโรจน์)เกษตรกรในพื้นที่คูหาใต้และกำแพงเพชรนำร่อง เฉลี่ยกลุ่มละ ๑๐ คนมาทำงานร่วมกัน โดยจะนัดมาประชุมเชิงปฎิบัติการ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของอาชีพ กำหนดความต้องการ การนำเสนอข้อมูล การเก็บข้อมูลก่อนและหลังเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมว่าเมื่อรับรู้ข้อมูลอุตุฯแล้วจะนำมาสู่การลดความเสียหายและเพิ่มมูลค่าการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรแค่ไหนอย่างไร
๓.หลังจากนี้ศูนย์อุตุฯจะเขียนโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมดำเนินโครงการ ตัวแทนกลุ่มข้าวส่งรายชื่อตัวแทนกลุ่มละ ๒ คนเข้ามาเป็นกรรมการร่วมกับเครือข่ายและตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
โครงการนี้จะเป็นจุดริเริ่มสำคัญของศูนย์อุตุฯ ที่ทำงานเชิงรุก ทำให้ข้อมูลอุตุฯเป็นของประชาชน เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจะดำเนินการในช่วงเมษายน-กันยายนของปี
๔.สำหรับเครือข่ายกลุ่มอาชีพอื่นโดยเฉพาะเครือข่ายที่มีผลผลิตมาจำหน่าย ณ ตลาดกรีนปั้นสุขจะร่วมกับ node flagship สงขลาจัดทำโครงการและมีกิจกรรมเสริมศักยภาพเครือข่ายกับศูนย์อุตุฯคู่ขนานกันไปอีกทางหนึ่ง
ก่อนปิดประชุมได้สร้างกลุ่มline "รัตภูมิอุตุ" ไว้เป็นช่องทางสื่อสารร่วมกัน
Relate topics
- ร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยเทศบาลตำบลพะตง
- คณะทำงานมูลนิธิSCCCRN ร่วมประชุมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำฯ ครั้งที่ 1/2562 (31 ต.ค. 62)
- ประชุมโครงการ พัฒนาเครื่อข่ายอาสาสมัครเตือนภัยน้ำท่วมคลองตง
- ประชุมคณะทำงานวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำ ของจังหวัดสงขลา ประจำปี 2562
- ประกาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เรื่องปริมาณฝนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น
- เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยปี ๒๕๖๒
- "City climate เมืองลดโลกร้อน"
- การใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในชีวิตประจำวันกับจุดเสี่ยงภัย ๕ ลุ่มน้ำ
- Platform ประจำเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- จาก ACCCRN สู่ SCCCRN