"City climate เมืองลดโลกร้อน"
"City climate เมืองลดโลกร้อน"
เย็นวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๒ นัดทีมงานมูลนิธิ SCCCRN ผู้ปิดทองหลังพระ พัฒนาระบบเตือนภัยและเฝ้าระวังเดิมเตรียมพร้อมสำหรับหน้าฝนรอบนี้
ปรับ www.Hatyaicityclimate.org ให้รองรับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้แนวคิด "หน่วยงานร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ประชาชนเป็นเจ้าของ" หน้าฝนก็จะมีระบบเตือนภัยและเฝ้าระวังในหลายลุ่มน้ำของจังหวัดสงขลา หน้าแล้งก็จะมีงานอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ภายใต้ยุทธศาสตร์ร่วม พร้อมกับออกแบบช่องทางอื่นๆมาเสริมหนุน แต่อยู่ใน Platform เดียวกัน
พร้อมปรับ App; Hatyaicity climate มาเป็น City Climate หรือเมืองลดโลกร้อน เพื่อให้ทันใช้ในหน้าฝนนี้
เรื่องหลักๆที่จะเพิ่มเข้ามาคือ ข่าวสารจากพื้นที่/สถานการณ์น้ำท่วมจากแต่ละจุดในสงขลา กล้อง cctv รวมถึงภาพจากเครือข่ายแต่ละพื้นที่ เชื่อมโยงข้อมูลจากการ live ของแต่ละหน่วยงาน เช่น อุตุฯ ผังน้ำและเครือข่ายเตือนภัย ฯลฯ การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือประชาชนที่อยู่แต่ละพื้นที่จะมีมากขึ้น สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์และได้รับประโยชน์ไปด้วยกัน
ไม่มีใครบอกได้ว่าอุทกภัยเกิดเมื่อไร ปีใด เฉพาะเมืองหาดใหญ่หลายคนบอกว่าคลองร.๑ ขยายพื้นที่รับน้ำได้อีกมาก น้ำไม่ท่วมหาดใหญ่อีกแล้ว แต่สำหรับทีมงานแล้วไม่มีใครเชื่อ และคิดว่านั่นคือวิธีคิดที่มาพร้อมหายนะ
เมืองไม่ว่าจะอยู่ที่ใด พื้นฐานความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าระบบที่แยกส่วนตัวใครตัวมัน หรือทำอะไรก็ได้ประโยชน์เพียงลำพัง ตัดแข้งตัดขา ชิงดีชิงเด่น งานพื้นฐานเช่นนี้ถูกมองข้าม ไม่มีใครสนใจ เพราะใช้เวลานาน ไม่มีผลประโยชน์ แถมเหนื่อย ยุ่งยาก เสียสละ
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
Relate topics
- ร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยเทศบาลตำบลพะตง
- คณะทำงานมูลนิธิSCCCRN ร่วมประชุมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำฯ ครั้งที่ 1/2562 (31 ต.ค. 62)
- ประชุมโครงการ พัฒนาเครื่อข่ายอาสาสมัครเตือนภัยน้ำท่วมคลองตง
- ประชุมคณะทำงานวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำ ของจังหวัดสงขลา ประจำปี 2562
- ประกาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เรื่องปริมาณฝนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น
- เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยปี ๒๕๖๒
- การใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในชีวิตประจำวันกับจุดเสี่ยงภัย ๕ ลุ่มน้ำ
- Platform ประจำเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- จาก ACCCRN สู่ SCCCRN
- รัตภูมิอุตุ