เมืองที่มีทุกคนเป็นเจ้าของ

by Little Bear @7 ก.พ. 66 18:11 ( IP : 171...128 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x720 pixel , 84,743 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 88,814 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 93,549 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 91,833 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 108,090 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,393 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,086 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 101,374 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,522 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 93,544 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 95,268 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,358 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 85,974 bytes.

7 กุมภาพันธ์ มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Southern Cities Climate Change Resilience Network Foundation) โดยประธานมูลนิธิ คุณสมพร สิริโปรานานนท์ พร้อมทั้งกรรมการมูลนิธิ รับมอบระบบกล้องวงจรปิดประกอบด้วย กล้องไอพี Hikvision 4G เราท์เตอร์ และ Internet SIM จาก True เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือจากภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุนเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน www.Hatyaicityclimate.org เฝ้าระวังอุทกภัยเมืองหาดใหญ่ในปี 2566นี้

โดยมีตัวแทนผู้มอบจากบริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวขั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คุณอภิรักษ์ พุทธา ผู้จัดการฝ่ายขายต่างจังหวัด พร้อมด้วยพันธมิตรจาก Hikvision (Thailand) ประเทศไทย คุณเกษมสานต์ อติศัพท์ Channel Account Manager และบริษัท ทรู คอร์เปเรชั่น คุณธำรง ยังธำรงจรัส ตำแหน่ง District Manager (ผู้จัดการฝ่ายขายประจำพื้นที่อำเภอหาดใหญ่) ณ ห้องประชุม iNET ชั้น 5 ตึกสิรินธร ม.อ.หาดใหญ่

และยังหารือความร่วมมือกับบ.iNet ในการขอใช้คลาวน์ในการบริหารจัดการข้อมูลในช่วงพีคของการเข้าดูเว็บไซต์ขณะเกิดอุทกภัย ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการเรือนแสนคน พร้อมกับจับมือกับศูนย์วิจัยภัยพิบัติธรรมชาติภาคใต้ ม.อ. ศึกษา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จัดทำแผนรับมือน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ทม.คอหงส์ ชุมชนทุ่งรี หน้าสวน และชุมชนในตลอดสายคลองย่อยไปถึงคลองแห ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่และกระทบต่อเมือง และยังไม่มีระบบที่ดีรองรับ

มีข้อเสนอแนะในการใช้ระบบ AI เข้ามาเสริมหนุนให้เกิดการรับรู้และสื่อสารกับกลุ่มเสี่ยงโดยตรง พัฒนากระบวนการและช่องทางสื่อสารลดความสูญเสีย และใช้เป็นโอกาสในการพัฒนา SMARTCITY วางระบบพื้นฐาน data center ของเมือง สำรวจความสูงต่ำของพื้นที่เชิงกายภาพของเมือง(รองรับการพัฒนา หรือการถมที่ การเปลี่ยนทางน้ำ ฯลฯ) ทิศทางการไหลของน้ำ ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงเวลา เหล่านี้เมืองยังจำเป็นที่จะต้องมีระบบกลางที่ให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องผลักดันกับผู้บริหารเมืองต่อไป