"SCCCRN เฝ้าระวังอุทกภัย" ไปต่อ
"SCCCRN เฝ้าระวังอุทกภัย" ไปต่อ
คาบเวลาฝนฟ้าตามฤดูกาลปีนี้ บวกกับปริมาณน้ำที่มากในรอบ 12 ปีต่อครั้ง อุตุฯบอกว่าหน้าฝนเริ่มช้ากว่าปกติไป 1 เดือน เช่นนั้นแล้วหน้าฝนภาคใต้ล่างยังไม่สิ้นสุด ปีใหม่ไปแล้วฝนยังมีมาได้อีก เราจึงต้องเตรียมพร้อมไปต่อแบบพร้อมกว่าเดิม
มูลนิธิ scccrn (เครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ปรับหน้าเว็บใหม่ เพิ่มความร่วมมือทางserver จับมือกันระหว่าง ม.อ บ.inet/สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา และมูลนิธิscccrn เพื่อเมืองหาดใหญ่และเมืองอื่น
ลดภาวะหน่วง อืด ช้าของการจราจรในช่วงเวลาวิกฤตมีคนเข้าเว็บไซต์ www.Hatyaicityclimate.org พร้อมกันนาทีละนับพันคน คุณภาณุมาศ โปรแกรมเมอร์บอกว่ารอบนี้ในช่วงเวลาฝนหนักสองสามวันต่อเนื่องมีคนเข้าดูเรือนแสนและจำนวนครั้งดูท่วมท้นไปกว่า 4 ล้านครั้ง
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2565 คณะทำงานและทีมงานทั้งหมด จากศูนย์อุตุฯ ม.อ. อปท.ในเมืองหาดใหญ่(คอหงส์ พะตง รอทน.หาดใหญ่ และให้ประสานควนลัง) มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา ทีมโปรแกรมเมอร์ ประธาน เลขาฯ กรรมการมูลนิธิ scccrn นัดฉลองปีใหม่ หารือแนวทางรับมือในช่วงเวลาต่อไป(หากมี) โดยแบ่งงานเป็น 3 ส่วน
1.แก้ปัญหาทางเทคนิคการเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ ทดสอบแนวทางใหม่จนสิ้นสุดหน้าฝนภายใต้ความร่วมมือของ 3 องค์กร ใช้งานคลาวน์ของบ.iNet นำภาพนิ่งจากการบันทึกไปไว้ใน server ของม.อ. การกระจายภาระงานจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงเว็บไซด์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับติดตั้งกล้อง cctv ในจุดต่างๆเพิ่มขึ้น มีความร่วมมือเสนอตัวมาช่วยราว 10-15 ตัว โดยเฉพาะคลองร.1(ณ สนง.ชลประทานและจุดที่บางแฟบ)
ทีมงานปรับหน้าตาเว็บไซต์อีกครั้ง ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างชัดเจนและเป็นทางการว่าเป็นความร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานต่างๆที่ดำเนินการโดยมูลนิธิ scccrn พร้อมเปิดรับความร่วมมือจากทุกแหล่งเพื่อมาร่วมกันเป็นเจ้าภาพและเจ้าของ ภายใต้แนวคิด "หน่วยงานเป็นเจ้าภาพ ประชาชนเป็นเจ้าของ"
2.สื่อสารกับสังคม โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานว่าเหตุน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ จะเกิดได้ 3 เงื่อนไข 1)ฝนหนักตกเฉพาะจุดในพื้นที่ เช่น กรณีคอหงส์ 2)ฝนหนักตกทั้งจุดภายในและภายนอกพื้นที่ 3)ท่วมใหญ่จากกรณีน้ำล้นจากคลองอู่ตะเภา
พร้อมจัดทำเส้นทางน้ำ ให้รู้ผังการเดินทางของน้ำ ระบบระบายน้ำ เงื่อนไขการเตือนภัย จุดติดตั้ง cctv เผยแพร่ในเว็บไซต์ ต้องการความร่วมมือจากจิตอาสาจัดทำคลิปสั้นๆ เป็นอนิเมชั่นดูง่ายๆ ใครมีความสามารถเสนอตัวมาได้
พร้อมจับมือช่วยกันสื่อสารกับสังคมผ่านเพจต่างๆ สร้างเครือข่ายสื่อ ลดความตื่นตระหนกและข่าวลือของประชาชน โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มเสี่ยงต่างๆในช่วงเกิดวิกฤต
ที่สำคัญสร้างการมีส่วนร่วม รับมือและปรับตัวกับภาวะเสี่ยงด้วยตนเอง และร่วมแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.แผนงานอนาคต ม.อ.จับมือกับ iNet(อาจติด sensor) และเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงทำแผนกับชุมชนเสี่ยงภัยที่ต้องเผชิญความเสี่ยงลำดับต้นๆ อาทิ ทุ่งรี หน้าค่าย ควนลัง หรือการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว/โรงแรม โรงเรียน ถึงขอบเขตของน้ำ ทิศทางการไหล ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนกับระบบโครงสร้างพื้นฐานและการระบายน้ำ (ท่อส่งน้ำสายหลักและคูน้ำที่จะต้องขุดลอก/จุดสูบน้ำ-เครื่องสูบน้ำ/แก้มลิงต่างๆ/การพร่องน้ำและการระบายในช่วงวิกฤต)
รวมถึงการประสานอปท.ในพื้นที่ภูมินิเวศเดียวกันหารือร่วมกัน มองภาพเชื่อมโยงทั้งระบบ
Relate topics
- ร่วมสมทบค่าใช้จ่ายสนับสนุนระบบเตือนภัยน้ำท่วมด้วยตนเองของประชาชนเมืองหาดใหญ่
- "ระบบเตือนภัยด้วยตนเอง"
- Google Flood Hub
- บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวขั่น และ บริษัท ทรู คอร์เปเรชั่น มอบอุปกรณ์ให้มูลนิธิ SCCCRN
- เมืองที่มีทุกคนเป็นเจ้าของ
- "รับมือน้ำท่วมฉับพลัน"
- คนหาดใหญ่ควรรู้
- คนหาดใหญ่ควรรู้
- SCCCRN เฝ้าระวังอุทกภัย ไปต่อ
- เบื้องหน้าเบื้องหลังของเว็บไซต์ www.Hatyaicityclimate.org