"ระบบเตือนภัยด้วยตนเอง"

by punyha @16 ก.ย. 67 08:25 ( IP : 171...183 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x720 pixel , 111,669 bytes.
  • photo  , 922x2048 pixel , 312,799 bytes.
  • photo  , 922x2048 pixel , 234,305 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,945 bytes.
  • photo  , 866x1268 pixel , 55,259 bytes.

"ระบบเตือนภัยด้วยตนเอง"

หน้าฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกใกล้เข้ามาแล้ว พร้อมข่าวอุทกภัยใหญ่ประเดประดังมาเป็นระยะ ล่าสุดเกิดที่เชียงราย พายุดีเพรสชั่นเข้าพื้นที่ ฝนหนักไหลลงจากภูเขาที่ไม่มีป่าดูดซับ น้ำหลากเข้าท่วมแทบทั้งจังหวัด จึงอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเมืองหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็ว่าได้ ความที่เกิดเหตุบ่อย ในพื้นที่จึงเกิดการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้ามารองรับ หัวใจหลักคือ นำข้อมูลที่ประชาชนควรรับรู้มานำเสนอให้เข้าถึงได้ง่าย "เตือนภัยแบบไม่ต้องเตือน" ผนวกกับกลไกเสริมหนุนที่สำคัญ

1)มีทีมประเมินสถานการณ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยวิชาการมอ.เป็นหัวหน้าทีม ลูกทีมประกอบด้วยศูนย์อุตุฯ ชลประทาน ทรัพยากรน้ำภาค ปภ.จังหวัด ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดอุทกภัย สามารถเรียกประชุมเร่งด่วนได้ มีข้อสรุปอย่างไรก็ส่งต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

กลไกนี้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำหน้าที่เสริมหนุนกลไกหลักที่ปภ.เป็นหน่วยเลขาดำเนินการ

เทศบาลนครหาดใหญ่ในฐานะท้องถิ่นที่ปกติพอเข้าหน้าฝนต้องตั้งศูนย์ฯจะต้องแถลงข่าว พร้อมกับวางระบบย่อยในพื้นที่เสี่ยง อาทิ บ้านพี่เลี่ยง(จุดอพยพย่อย) ธงสี+สัญญาณเสียง กลุ่มไลน์ การบริหารจัดการน้ำ(สูบน้ำ/ระบายน้ำ) ทีมเผชิญเหตุ

ที่สำคัญ พื้นที่หน้าด่านคือ 10 ชุมชนริมคลองอู่ตะเภา เป็นจุดแรกที่เกิดน้ำท่วม ก่อนที่น้ำข้ามพนังเข้าสู่ตัวเมืองรอบนอก และไหลขึ้นท่อมาท่วมในเขตเศรษฐกิจ จะต้องมีแผนระดับชุมชน จัดระบบรองรับกลุ่มเสี่ยง ระบบบ้านพี่เลี้ยงที่จะเป็นจุดอพยพย่อย จุดจอดรถ เหล่านี้ขึ้นอยู่ว่าเทศบาลฯจะต้องเตรียมก่อนหน้าฝนหรือไม่อย่างไรด้วย

2)สร้างช่องทางสื่อสารให้กับประชาชน รวมข้อมูลที่จำเป็นมาอยู่ในที่เดียวกัน www.hatyaicityclimate.org เป็นเว็บที่คนหาดใหญ่รู้จักดี ด้วยน้ำท่วมใหญ่ในหาดใหญ่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยสำคัญ คือน้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลหลากเข้าท่วมเมือง โดยเฉพาะน้ำจากอำเภอสะเดา ไหลมารวมกับน้ำจากนาหม่อม คอหงส์ ควนลัง จึงได้ติดตั้งกล้อง cctv (เอกชนร่วมกันสนับสนุน ยกเว้นกล้องที่สะพานหน้าอำเภอที่เป็นของทรัพยากรน้ำภาค 8)ตามจุดสำคัญริมคลองอู่ตะเภาที่วิเคราะห์ผังน้ำแล้วว่าสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ พร้อมที่วัดระดับน้ำ มีสัญลักษณ์ธงสีแจ้งเตือน

3)บริหารระบบระบายน้ำ ผ่านคลองระบายน้ำสายต่างๆ ที่จะต้องจัดการร่วมกับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของกองช่างบวกกับเทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการถมที่ การขุดลอกท่อ คูระบายน้ำ การพัฒนาสร้างที่อยู่อาศัย/การสร้างถนนขวางทางน้ำ จุดรับน้ำมีเหลือมากน้อยเพียงใด

ที่สำคัญ ปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ประกอบด้วย

1)ระเบิดฝนRain Bomb เกิดจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกในปริมาณ 100 มม.ต่อชม.ทำให้เกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ด้วยมาตรฐานของระบบระบายน้ำในบ้านเรารองรับน้ำได้ที่ 60-80 มม.ต่อชม. เมืองใหญ่ๆมักเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้บ่อยครั้ง ศูนย์อุตุฯมีเวลาเตือนล่วงหน้า 1 ชม.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องพัฒนาระบบมารองรับต่อไป

2)ฝนจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเข้าปกคลุมพื้นที่ หรือทำให้เกิดท่วมใหญ่จะมาจากพายุดีเพรสชั่น พูดง่ายๆ ปริมาณน้ำระดับ 400 มม.ที่ตกต่อเนื่องหลายวัน เกินความจุของพื้นที่รับน้ำ กรณีนี้เราจะหนีอุทกภัยใหญ่ไม่พ้น เพียงแต่เราจะมีเวลารู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อม แล้วก็อยู่ทิศทางของฝนว่าเคลื่อนตัวไปไหนอย่างไร

www.hatyaicityclimate.org เกิดขึ้นจากความร่วมมือของโครงการเครือข่ายเมืองในเอเซียเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ACCCRN) ซึ่งปัจจุบันจัดตั้งเป็นมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SCCCRN)หลอมรวมทีมงานจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นแกนประสานงาน เว็บไซต์นี้มูลนิธิ SCCCRNเจ้าของดำเนินการเอง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อความคล่องตัวและสร้างความเป็นเจ้าของให้แก่ประชาชน

ระบบของเว็บไซต์พัฒนาให้สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนนับแสนครั้งในกรณีฝนตกหนัก โดยมี server รองรับจาก 3 หน่วยงาน คือ บ.inet ม.อ. และมูลนิธิฯ

ด้วยความหวังว่าจะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในภาวะโลกเดือด ซึ่งเป็นภัยใหม่ที่คุกคามเราทุกคน

ชาคริต โภชะเรือง ทีมงานมูลนิธิ SCCCRN