คนหาดใหญ่ควรรู้
www.hatyaicityclimate.org ดำเนินการโดยมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SCCCRN) ต่อเนื่องมาจากการทำงานโครงการเครือข่ายเมืองในเอเซียเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ACCCRN) ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่หลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2553 โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์ ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน อาทิ ทน.หาดใหญ่ คลองแห คอหงส์ พะตง ม.อ. มทร.ศรีวิชัย ปภ.จังหวัด สสจ. โยธาธิการและผังเมือง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำนักงานชลประทาน สนง.ทรัพยากรน้ำที่ 8 มูลนิธิชุมชนสงขลา เป็นต้น โดยมีดร.สมพร สิริโปราณานนท์ จากหอการค้ามาเป็นประธานคณะทำงาน
จุดเริ่มเพื่อหาพื้นที่เมืองรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยหาดใหญ่ เลือกทำเรื่องน้ำท่วมด้วยเหตุเป็นปัญหาหลัก
จุดประสงค์สำคัญ เพื่อลดช่องว่างการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ปกติหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ คนหาดใหญ่จะคุ้นชินกับการดูระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา ภาพจำของคนหาดใหญ่จึงผูกติดความเชื่อว่าน้ำท่วม น้ำจะเอ่อล้นจากคลองเข้าท่วมเมือง คณะทำงานจึงนำกล้อง cctv ไปจับภาพ ณ จุดสำคัญของคลองตั้งแต่ต้นน้ำ(ม่วงก็อง) มาถึงกลางน้ำ(บางศาลา) มาถึงที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ และติดตั้งไปถึงระบบคลองสาขาที่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมเล็กในจุดสำคัญอื่นๆด้วย อาทิ คลอง 30 เมตร คลองหวะ ในอดีตก็มีกล้องที่คลองเรียน/คลอง ร.1 ตลาดกิมหยง แหลมโพธ์ และที่อื่นๆที่มิได้อยู่ในพื้นที่ทน.หาดใหญ่ เช่น พะตง(คลองตง)
นอกจากนั้นยังร่วมมือกับศูนย์อุตุฯ นำข้อมูลสำคัญ เช่น ภาพเรดาห์สทิงพระ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลฝนตามสถานีออนไลน์ ภาพกล้อง cctv จากชลประทาน(คลองหวะ) สนง.ทรัพยากรน้ำที่ 8(สะพานข้างอำเภอหาดใหญ่) ทำสื่อ ชุดความรู้ เปิดเพจ และแอพพลิเคชั่น city climate ไว้รองรับการเตือนภัยด้วยตนเองให้กับประชาชน
และยังได้จัดทำแผนรับมืออุทกภัยระดับชุมชน ร่วมกับกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนรับมือระดับลุ่มน้ำไว้อีก 5 ลุ่มน้ำเมื่อราวปี 2557 อีกด้วย
ด้วยข้อจำกัดและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ คณะทำงานเลือกที่จะใช้มูลนิธิเป็นองค์กรรับผิดชอบหลัก แทนที่จะส่งมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมิอาจตอบสนองการบริหารจัดการในรูปแบบเดิมที่มีการเชื่อมโยงข้ามองค์กร ข้ามพื้นที่ การทำงานเช่นนี้เป็นเรื่องใหม่ ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของระบบราชการ แต่ก็ต้องรับข้อจำกัดด้านงบประมาณตามมาด้วย
ทั้งค่าเช่า server กล้อง cctv ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าไฟ ผู้บริหารมูลนิธิฯรวมถึงภาคเอกชนหลายแห่งร่วมสนับสนุน
ทั้งนี้หัวเรี่ยวหัวแรงหลักในเรื่องเว็บไซค์ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน คือ คุณภูเบศร์ แซ่ฉิน คุณภาณุมาศ นนทพันธ์ โปรแกรมเมอร์
เท่ากับว่าเว็บไซต์นี้ดำเนินการโดยภาคประชาชน มิใช่ของเทศบาลนครหาดใหญ่หรือหน่วยงานใด เพื่อมิให้มีข้อจำกัดในการพึ่งระบบบริหารของรัฐ จำเป็นต้องยกให้เป็นของคนหาดใหญ่มีส่วนร่วม มีแต่วิธีเช่นนี้จึงจะทำให้เมืองมีตัวช่วย ประชาชนได้ร่วมเป็นเจ้าของ
ทำไปแก้ปัญหาไป โดยเฉพาะช่วงเวลาวิกฤตคนเข้าดูพร้อมกันเรือนหมื่น ทำให้เกิดติดขัด ล่าช้า หน่วงเป็นระยะ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อไป
และต้องการการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนมาเป็นเจ้าของ
ล่าสุดคนเข้าเว็บ21ธค. 69,043 persons 273,912 views. ตัวเลขรวมตั้งแต่ดำเนินการมาเมื่อปี 2554 total view 11,459,348 persons 41,394,747 views
Relate topics
- ร่วมสมทบค่าใช้จ่ายสนับสนุนระบบเตือนภัยน้ำท่วมด้วยตนเองของประชาชนเมืองหาดใหญ่
- "ระบบเตือนภัยด้วยตนเอง"
- Google Flood Hub
- บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวขั่น และ บริษัท ทรู คอร์เปเรชั่น มอบอุปกรณ์ให้มูลนิธิ SCCCRN
- เมืองที่มีทุกคนเป็นเจ้าของ
- "รับมือน้ำท่วมฉับพลัน"
- "SCCCRN เฝ้าระวังอุทกภัย" ไปต่อ
- คนหาดใหญ่ควรรู้
- SCCCRN เฝ้าระวังอุทกภัย ไปต่อ
- เบื้องหน้าเบื้องหลังของเว็บไซต์ www.Hatyaicityclimate.org