Platform ประจำเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • photo  , 960x540 pixel , 68,573 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 90,880 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 81,331 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 80,658 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 34,387 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 23,947 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 59,983 bytes.

"Platform ประจำเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

อุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น แล้งหนัก ปริมาณฝนที่มากขึ้นต่อครั้งการตก การเกิดลมมรสุมในแต่ละช่วงเวลาทำให้เกิดอุทกภัย การขึ้นลงของน้ำทะเลมีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เหล่านี้คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เราจะนำปัจจัยเหล่านี้เข้ามาสู่Platform เดียวกันได้อย่างไร(พื้นที่ความคิด-ยุทธศาสตร์ เวทีประชุม Application ฯลฯ)

กรณีเมืองหาดใหญ่ปัจจุบันเรามี App: hatyaicityclimate.org เพื่อการรับมืออุทกภัยของลุ่มน้ำอู่ตะเภาและเมืองหาดใหญ่
-มีข้อมูลปริมาณฝนออนไลน์ มีภาพจากเรดาห์คาบสมุทรสทิงพระ ภาพถ่ายดาวเทียม จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ -มีกล้อง CCTV จับภาพปริมาณน้ำในคลองอู่ตะเภา ให้เห็นความเชื่อมโยง ณ จุดสำคัญที่จะมีผลต่อเมือง -มีผังเครือข่ายเฝ้าระวัง ณ จุดสำคัญตลอดลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา
-มีการแจ้งเตือนสถานการณ์จากเครือข่าย -มีการสรุประดับการเกิดภัย เขียว-ปกติ เหลือง-เฝ้าระวัง แดง-เกิดภัย

การพัฒนารอบต่อไป โจทย์ก็คือ ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในวิถีปกติของทุกคน เป็นเรื่องของทุกคน

สถานการณ์รายวัน ไม่ว่าฝนตก แดดออก ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ควรจะต้องสื่อสารสองทางระหว่างศูนย์อุตุฯกับข้อมูลผลที่เกิดกับพื้นที่ ข้อมูลทั้งสองทางจะนำมาสู่ความแม่นยำและการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ต่อกลุ่มอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า แม่ค้า ผู้จัดกิจกรรม เกษตรกรที่จะนำไปวางแผนการผลิต ฯลฯ

การรายงานสถานการณ์จากพื้นที่ ต้นน้ำ พื้นที่ริมชายฝั่ง

การปักหมุดกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องในแต่ละวัน เดือน ปี

การสร้างเครือข่ายอาสาสมัคร ๔.๐ ของหน่วยงานต่างๆทำงานผ่านสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นของกรมอุตุฯ ปภ.จังหวัด ชลประทาน เทศบาล โรงเรียน โรงแรม ธนาคาร ศูนย์การค้า ฯลฯ

การรับมืออุบัติเหตุ จราจรบนถนนสำคัญ การเดินทาง

การเก็บข้อมูล การวิจัยเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์เชิงระบบของสถาบันทางวิชาการ

มีอะไรอีกมากที่สามารถนำมาสู่การพัฒนาเชิงระบบต่อไป

จากเมืองหาดใหญ่จะพัฒนาไปเป็น เมืองสงขลา เมืองนาทวี เมืองเทพา เมืองรัตภูมิ หรือเมืองอื่นๆในจังหวัดอื่นๆต่อไป