เฝ้าระวังน้ำท่วมหาดใหญ่ - Hatyai City Climate . ORG

การใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในชีวิตประจำวันกับจุดเสี่ยงภัย ๕ ลุ่มน้ำ

by punyha @23 ส.ค. 62 22:02 ( IP : 124...80 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x640 pixel , 68,931 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 69,878 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 61,196 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 74,217 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 57,561 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 88,388 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 96,967 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 108,213 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 79,273 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 62,230 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 76,502 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 98,801 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 77,489 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 99,226 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 95,655 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 85,053 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 82,964 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 56,299 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 68,196 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 87,693 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 89,800 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 50,489 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 90,599 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 111,497 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 93,511 bytes.

"การใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในชีวิตประจำวันกับจุดเสี่ยงภัย ๕ ลุ่มน้ำ"

มูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ.สงขลา มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ร่วมกันเปิดศูนย์อุตุฯ ให้ความรู้พื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยาให้กับเครือข่ายจิตอาสา ๔.๐ ที่มาจาก ๕ ลุ่มน้ำในสงขลา โดยมีผอ.พะเยาว์ เมืองงาม ให้การต้อนรับ

มีทั้งอพปร. เจ้าหน้าที่ ประชาชนทั่วไปราว ๗๐ ชีวิต รอบเช้าผอ.สมภพ วิสุทธิสิริ แนะนำเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา ทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียม แผนที่ ภาพจากเรดาห์สทิงพระ พร้อมกับช่องทางเข้าถึงข้อมูลทั้งเว็บไซต์ แอพฯ เฟชบุ๊ค ฯลฯ พร้อมกับนำเครือข่ายเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการของศูนย์ที่มีเจ้าหน้าที่เข้าเวรประจำตลอด ๒๔ ชั่วโมง ได้เห็นเครื่องมือของจริง และการพัฒนาช่องทางผ่านเฟชบุ๊ค live

รอบบ่ายเรียนรู้สาเหตุการเกิดภัยจากดินโคลนถล่ม อุทกภัยที่เกิดจากสภาพธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ ไล่ดูจุดเสี่ยงของแต่ละลุ่มน้ำ พร้อมกับวิเคราะห์เส้นทางน้ำจากต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และจุดเสี่ยงแต่ละจุด ซึ่งผ่านการวิเคราะห์พร้อมกับจัดตั้งที่วัดระดับน้ำ ป้ายเตือนภัย บางจุดก็มี CCTV ในการสื่อสารภาพระดับน้ำในคลองสำคัญ ทบทวนจุดเสี่ยงภัยในแต่ละจุด เชื่อมโยงข้อมูลปริมาณฝน ที่มีหลากรูปแบบทำให้เกิดภัย เช่น ฝนตกแช่ในปริมาณมาก ฝนตกเกิน ๘๐ มม.ในรอบ ๑๒ ชั่วโมง หรือฝนเกิน ๒๐๐ มม. เหล่านี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้ และเตือนภัยตัวเองผ่านเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ บวกกับการสังเกต การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงทางน้ำจากผลการพัฒนา

และร่วมเรียนรู้การใช้แอพฯ Climate city (เครือข่ายลดโลกร้อน)ที่ปรับจากแอพฯเดิมที่เน้นคลองอู่ตะเภา ให้ครอบคลุมพื้นที่อืนและใช้งานได้ในทุกฤดูกาล โดยมีรูปแบบให้เลือก ได้แก่ ดูข้อมูลจากศูนย์อุตุฯ กล้อง CCTV การเตือนภัยจากเครือข่าย ผังน้ำของแต่ละลุ่มน้ำที่มีการกำหนดจุดเฝ้าระวัง

เครือข่ายได้ร่วมกันติดตั้งแอพฯ ฝึกลงข้อมูลการเตือนภัย เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน